คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลัง งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ

...

คู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
กองคลัง  งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ
อำเภอโนนสุวรรณ  จังหวัดบุรีรัมย์
โทร. 044-607218
โทรสาร. 044-607218
  
คำนำ
 การบริหารการจัดเก็บรายได้เป็นกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญในการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของ เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ   จึงได้พิจารณาจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานมาตรฐาน กระบวนการบริหารการ จัดเก็บรายได้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกระบวนการของเทศบาลตำบลโนนสุวรรณ  ให้เกิดคุณค่าแก่ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้เสีย  และประสิทธิภาพการทำงาน ของเทศบาลตำบลโนนสุวรรณ  คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการบริหารการจัดเก็บรายได้ มีสาระสำคัญ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ และระบบติดตามประเมินผล มุ่งหวังให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นฐานในการพัฒนา กระบวนการนี้ เพื่อสนับสนุนกระบวนการสร้างคุณค่าหลักของ  เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ   ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บรายได้ ผู้รับบริการ ผู้มีส่วน ได้เสีย ให้สามารถเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มประสิทธิภาพของงานจัดเก็บรายได้ได้เป็นอย่างดี งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ กองคลัง เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ
 
      งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
กองคลัง   เทศบาลตำบลโนนสุวรรณ
 ภาษีบำรุงท้องที่
 
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
          ได้แก่ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล  ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินต้องเสียภาษีท้องที่  ได้แก่พื้นที่หรือพื้นที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย  โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน
 
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
          ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่  1  มกราคม ของทุกปี  มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้น
 
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
          ให้เจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน (กองคลัง) ภายในเดือนมกราคมของปีแรก ที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดิน
          แบบแสดงรายการที่ยื่นไว้นั้นใช้ได้ทุกปี  ในรอบระยะเวลา  4  ปี
          หลักฐานที่ต้องนำไป
          - สำเนาโฉนดที่ดิน นส.3 หรือ นส.3ก
          - บัตรประจำตัวประชาชน
          - ใบเสร็จรับเงินปีที่แล้ว (ถ้ามี)
          - หนังสือมอบอำนาจ  กรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทน
 
การคำนวณภาษี
          คำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินที่คณะกรรมการการตีราคาปานกลางที่ดินกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีคูณกับเนื้อที่อัตราภาษี
                   เนื้อที่ดิน (ไร่)     =  เนื้อที่ถือครอง  -  เนื้อที่เกณฑ์ลดหย่อน
                   ค่าภาษีต่อไร่      =  ตามบัญชีอัตราภาษี ฯ ท้าย พรบ.ฯ
 
การชำระภาษีบำรุงท้องที่
          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินมาชำระภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี

เงินเพิ่ม – บทกำหนดโทษ
          1. ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) หรือไม่ยอมชี้แจงหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
          2. ผู้ใดโดยรู้แล้วจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ  หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง  หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          3. ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงิน ที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
          ระยะเวลาการให้บริการโดยประมาณ 10 นาทีต่อราย ไม่รวมเวลาขั้นตอนสอบ
 
ขั้นตอนการเสียภาษีบำรุงท้องที่
 
1. ขั้นตอนการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (กรณีชำระตามปกติ)
เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
- ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
ขั้นตอนการให้บริการ
- ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
- ออกใบเสร็จรับเงิน
 
2. ขั้นตอนการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (กรณีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน)
2.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา               
เอกสารสิทธิ์ที่ดิน
บัตรประจำตัวประชาชน                
          2.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นคำร้อง
                   - ตรวจสอบเอกสาร
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน
 
 3. ขั้นตอนการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (กรณีมีการประเมินใหม่)
          3.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
                   - สำเนาทะเบียนบ้าน
                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                   - สำเนาเอกสารสิทธิ์
                   - สำเนาหนังสือการเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน

ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่
 
ผู้ยื่นภาษียื่นแบบ ภ.บ.ท.5  ภายในเดือน มกราคม  ของปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน
(ทุกรอบ 4 ปี)   การชำระค่าภาษี  ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 30 เมษายน ของทุกปีภาษีโรงเรือนและที่ดิน
 
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  หมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน  หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน  คือ  ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง เช่น ตึก อาคาร คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในเขต อบต. ซึ่งใช้หาผลประโยชน์เป็นสถานประกอบการพาณิชย์ ต่าง ๆ ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัย อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินกับ อบต.
 
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนที่ดิน

  1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างให้เช่า บ้าน ตึกแถว โรงแรม เกสท์เฮ้าท์ คอร์ด  หอพัก ฯลฯ
  2. ที่ทำการค้าขายและที่เก็บสินค้า เช่น ร้านค้าทั่วไป โรงภาพยนต์ โกดังเก็บสินค้า
  3. ที่ประกอบอุตสาหกรรม เช่น โรงเลื่อย โรงสี ฯลฯ
  4. ที่ให้ญาติ พ่อ แม่ หรือผู้อื่นอยู่อาศัย

 
กำหนดยื่นแบบเสียภาษี
          เจ้าของทรัพย์สินมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
 
การคำนวณการประเมินค่ารายปีและอัตราภาษี
          ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดค่ารายปีของทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี เช่น บ้านให้เช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท คิดค่ารายปีได้ 12,000 (1,000 × 12 เดือน) ค่าภาษีจะเท่ากับ            1,500 บาท
 
หลักฐานที่ต้องนำไป

  • สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ สัญญาซื้อขายโรงเรือน
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีผู้อื่นมายื่นแบบ ภ.ร.ด. แทน)
  • ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ใบเสร็จรับเงินปีที่ผ่านมา ใบอนุญาตสะสมอาหาร ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน/บริษัท หรืองบดุล

ค่าภาษี

  1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี
  2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี ค่าภาษี = ค่ารายปี × 12.5%

 
กำหนดการชำระค่าภาษี
          เมื่อเจ้าของทรัพย์สิน ได้รับแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด.8 ) แล้วต้องไปชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับจากวันถัดจากที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้

  1. ถ้าชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 2.5 ของค่าภาษีค้าง
  2. ถ้าเกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ    5  ของค่าภาษีค้าง
  3. ถ้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 7.5  ของค่าภาษีค้าง
  4. ถ้าเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันที่พ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ 10   ของค่าภาษีค้าง

   ถ้าผ่อนชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ต้องมีวงเงินค่าภาษีจะขอผ่อนผันตั้งแต่  9,000 บาท  ขึ้นไป  ภายในกำหนด  30  วันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน โดยแบ่งออกเป็น 3 งวด เท่าๆ กัน (งวดละ  3,000 ถ้าไม่ชำระภาษีและเงินเพิ่มภายใน  4  เดือน  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด  อายัด  หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินผู้ซึ่งค้างชำระภาษีเพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษีเงินเพิ่มค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายโดยมิต้องขอให้ศาลสั่งหรืออกหมายยึด
 
ขั้นตอนการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. ขั้นตอนการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (กรณีปกติ)
          1.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
                   - สำเนาทะเบียนบ้าน
                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                   - สำเนาทะเบียนพาณิชย์
                   - แผนที่ตั้งพอสังเขป
                   - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้)
          1.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นแบบประเมินภาษี
                   - ตรวจสอบเอกสารเพื่อประเมินภาษี
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน
         
2. ขั้นตอนการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (กรณีแจ้งใหม่)
          2.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
                   - สำเนาทะเบียนบ้าน
                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                   - สำเนาทะเบียนพาณิชย์
                   - แผนที่ตั้งพอสังเขป
                   - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเองได้)
                   - สำเนาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
          2.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นแบบประเมินภาษี
                   - ตรวจสอบเอกสาร
                   - ออกใบรับพร้อมแจ้งนัดตรวจสอบ
                   - ตรวจสอบโรงเรือนและที่ดิน
                   - ออกใบแจ้งรายการประเมิน
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน
         
ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
 
ผู้เสียภาษียื่นแบบ ภายในวันที่  2  มกราคม – 28  กุมภาพันธ์  ของทุกปี
ภาษีป้าย          ภาษีป้าย หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายทีใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
         
          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย  คือ เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายในกรณีไม่มีผู้อื่นยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้  ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายนั้นได้  ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัว          ผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินป้ายนั้นติดตั้ง หรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ
 
อัตราภาษีป้าย

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 3 บาท
  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมาย

คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 20 บาท

  1. (ก)   ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพและหรือเครื่องหมายใด ๆ

 (ข)   ป้ายที่มีอักษรไทยทั้งหมด หรือบางส่วนอยู่ใต้และหรืออยู่ต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
        คิดภาษี 500 ตร.ซม. ต่อ 40 บาท
ป้ายเมื่อคำนวณพื้นที่จำนวนเงินภาษีไม่ถึงป้ายละ 200 ให้เสียภาษีป้ายละ  200  บาท
 
เอกสารหลักฐานที่นำมาใช้ในการติดต่อ
          1.   สำเนาทะเบียนบ้าน   บัตรประจำตัวประชาชน
          2.   สำเนาหนังสือรับรองสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
          3.   รายละเอียดเกี่ยวกับป้าย ทั้งลักษณะข้อความ ภาพขนาดรูปร่าง และรูปตัวของป้าย (ถ้ามี)
          4.   สถานที่ติดตั้งหรือแสดงป้าย
          5.  หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากร (กรณีมอบอำนาจ)
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย
 -   เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
 -   ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิม   หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันติดตั้งหรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขแล้วแต่กรณี
การชำระภาษี
-   ให้เจ้าของป้ายชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
          -   ป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้าย ตั้งแต่วันที่ติดตั้ง จนถึงงวดสุดท้ายของปี (คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3  เดือน)
                   งวด 1  มกราคม  –  มีนาคม      =  100 %
                    งวด 2  เมษายน  –   มิถุนายน    =   75 %
                   งวด 3  กรกฎาคม –  กันยายน    =   50 %
                   งวด 4  ตุลาคม –   ธันวาคม       =   25 %
 
เงินเพิ่ม
-   ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของค่าภาษี
          -   ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายลดน้อยลงให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10  ของค่าภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม
          -   ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด  ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของค่าภาษีป้าย
 
บทกำหนดโทษ
          1. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย  ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่  5,000  บาท ถึง 50,000  บาท
          2. ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้งความเท็จ  ให้ถ้อยคำเท็จ  หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน  1  ปี  หรือปรับตั้งแต่  5,000  บาท ถึง  50,000  บาท  หรือทั้งจำ  ทั้งปรับ
          3. ผู้ใดไม่แจ้งรับโอนป้าย  หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้ายไว้  ณ  ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบกิจการ  ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่  1,000  บาท ถึง 10,000  บาท
 
ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย
 
1. ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย ป้ายเดิม (กรณีปกติ)
          1.1 เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ
                   - ใบเสร็จรับเงินของปีที่ผ่านมา
                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                   - ทะเบียนพาณิชย์  หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
                   - แผนที่ตั้งพอสังเขป
                   - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
1.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นแบบประเมินภาษี
                   - ตรวจสอบเอกสารเพื่อประเมินภาษี
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน
 
2. ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย  ป้ายเดิม (กรณีเอกสารไม่ชัดเจนครบถ้วน)
          2.1 เอกสารที่ต้องใช้การติดต่อ
          2.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นแบบประเมินภาษี
                   - ตรวจสอบ
                   - ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ออกสำรวจตรวจสอบป้าย
                   - คำนวณค่าภาษี  แจ้งให้ผู้ยื่นเสียภาษีทราบ
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน
          2.3 ระยะเวลาดำเนินการ
                   - โดยประมาณ 1 วันทำการ
 
3.ขั้นตอนการเสียภาษีป้าย ป้ายใหม่
          3.1 เอกสารที่ต้องใช้การติดต่อ
                   - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
                   - สำเนาทะเบียนบ้าน     
- ทะเบียนพาณิชย์  หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียน
                   - แผนที่ตั้งพอสังเขป
                   - หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถมาติดต่อด้วยตนเอง)
3.2 ขั้นตอนการให้บริการ
                   - ยื่นแบบประเมินภาษี
                   - ตรวจสอบ
                   - ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ออกสำรวจตรวจสอบป้าย
                   - คำนวณค่าภาษี  แจ้งให้ผู้ยื่นเสียภาษีทราบ
                   - ออกใบเสร็จรับเงิน